วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14



เนื้อหาที่เรียน
         อาจารย์ได้ทบทวนในแผนของแต่ละกลุ่มเพราะยังมีข้อผิดพลาดบ้างส่วน และเรื่องการสอนเด็กในวันอังคาร(เรื่องลักษณะ) โดยจะต้องทำเป็นลำดับขั้นตอนของการสอน
  1.ถามชื่อของมะละกอชนิดต่างๆ
  2.ให้เด็กลองสังเกตลักษณะด้วยตาก่อน เช่น สี รูปทรง เป็นลำดับแรกถามเด็กและบันทึกลงในตาราง
  3.ให้เด็กได้ลองสัมผัสพื้นผิว ดมกลิ่น และชิม ถามเด็กและบันทึกลงในตาราง
  4.ต้องสรุป ว่ามะละกอแต่ละชนิดมีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร



        คำศัพท์
1.The shape​ รูปทรง 2.smell กลิ่น 3.table ตาราง 4.conclude สรุป 5.taught​ สอน
ประเมิน ประเมินตนเอง: ไม่ค่อยเข้าใจ​ในคำสั่ง​แต่พยายามถามเพื่อนถามอาจารย์ ประเมินเพื่อน: ฟังและปฏิบัติตาม ประเมินอาจารย์: บอกรายละเอียดต่างๆในงานได้ชัดเจน


สาธิตการสอน


สาธิตการสอน
  เรื่อง เครื่องเขียน



เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือน


เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือน


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13


เนื้อหาที่เรียน
       วันนี้อาจารย์ได้สาธิตให้ทุกๆคนดู อาจารย์บอกอย่างละเอียด โดยจะมีการร้องเพลงก่อนเริ่มต้นในการ สอนในหน่วยนั้นๆ แล้วอาจารย์ก็ได้ให้เตรียมอุปกรณ์ในการสอนเด็ก เรื่องที่ได้สอนคือเรื่อง เครื่องเขียน
        อุปกรณ์ในการสาธิตวิธีการสอน  
              1.ปากกา
              2.ดินสอ
              3.เมจิ
              4.กระดาษ


         คำคล้องจอง
เครื่องเขียน เครื่องเขียน เครื่องเขียน
เครื่องเขียนมีหลายชนิด ปากกา ดินสอ
เด็กๆรู้จักไหมน้อ เครื่องเขียนนั้นมีหลายชนิด

  คำศัพท์
1.Stationary เครื่องเขียน 2.Start เริ่มต้น 3.Meiji เมจิ 4.pen ปากกา 5.paper กระดาษ

ประเมิน
ประเมินตนเอง: ได้เตรียมอุปกรณ์ที่อาจารย์ให้หา
ประเมินเพื่อน: ได้เตรียมอุปกรณ์ที่อาจารย์ให้หา
ประเมินอาจารย์: ได้บอกวิธีการสอนอันไหนเริ่มก่อน อันไว้ทีหลัง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12


เนื้อหาที่เรียน

  าจารย์ได้นำรูปตัวอย่างเกี่ยวกับการจัดมุมห้องต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกับด้านคณิตศาตร์ เช่น มุมเรียงหนังสือ มุมวัน/เดือน/ปี  มุมคณิตศาสตร์ มุมวิทยาศาสตร์ และนักศึกษาเก็บข้อมูลและเปรียบเทียบของแต่ละหน่วยแล้วนำมาสรุป


แล้วอาจารย์ก็จะสรุปให้อีกรอบในมุมแต่ละมุม

     คำศัพท์
1.corner​ มุม 2.science วิทยศาสตร์ 3.month เดือน 4.example ตัวอ​ย่าง 5.compare เปรียบเทียม

ประเมิน
ประเมินตนเอง: ตอบคำถามที่อาจารย์ถาม
ประเมินเพื่อน: ฟังและตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์: อธิบายได้อย่างชัดเจน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11


เนื้อหาที่เรียน
    อาจารย์ให้การเเก้ไขเเผนการจัดประสบการณ์จากสัปดาห์ที่เเล้วต้องเพิ่มเติมเนื้อหาเพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้นหรือให้สอนง่ายขึ้น และในแต่ละเนื้อหาเราต้องสอนให้เด็กได้รู้อะไร ทำอะไร สาระที่เด็กควรได้รับต้องสอดคล้องกันทั้งหมด 

   คำศัพท์

1. Correct.      ถูกต้อง
2. Modify        เเก้ไข
3. More           เพิ่มเติม
4. Matter         สาระที่ได้รับ
5. Assign.       มอบหมาย

  ประเมิน

ประเมินตนเอง: รู้จุดผิดของตนเอง
ประเมินเพื่ิอน:   แก้ของแต่ละคร
ประเมินอาจารย์:  ให้คำปรึกษาแต่ละคน
     

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10


เนื้อหาที่เรียน
     อาจารย์ได้ให้ทำเเผนการสอนต่อจากเเผนผังที่ออกแบบไว้

ตัวอย่างเเผน ประโยชน์ของมะละกอ (วันศุกร์) 



จะเป็นวิธีการทำการทำส้มตำ

      คำศัพท์  

1. Tale       นิทาน
2. Learning unit    หน่วยการเรียนรู้  
3. Previous konwledge  ความรู้เดิม
4. Course of  study  หลักสูตร 
5. Substance        สาระการเรียนรู็

   ประเมิน
ประเมินตนเอง: ตั้งใจทำแผนของตนเอง
ประเมินเพื่อน:  ตั้งใจทำแผนของตนเอง
ประเมินอาจารย์: ให้คำปรึกษาแต่ละแผ่น



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที 9


วันนี้อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาเเก้ไขหน่วยของตัวเอง และทำbloggerให้เป็นปัจจุบันหรือให้เสร็จเรียบร้อย
เนื่องจากสถานะการณ์ของโรคโควิดจึงไม่สามารถไปมหาลัยได้


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8


เนื้อหาที่เรียน

    วันนี้เรียนเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้จากสัปดาห์ที่แล้ว ที่อาจารย์ให้ทำเพื่อนำมาบูรณาการกับสาระคณิตศาสตร์กับหน่วยที่เราเรียนรู้โดยผ่าน 6 กิจกรรมหลัก และในแต่ละวันจะใช้เวลาเพียง 30 นาที ในแต่ละเนื้อหา
กลุ่มที่ดิฉันเลือกคือ​ หน่วยมะละกอ
มีองค์ประกอบ คือ
1.ชื่อ 2.ชนิด 3.ลักษณะ 4.การดูแลรักษา 5.ประโยชน์ 6.โทษ

     คำศัพท์
1.Papaya  มะละกอ
2.Type     ชนิด
3.Blame   โทษ
4.Mathemalics  คณิตศาสตร์
5.Benefit  ประโยชน์

       ประเมิน
ประเมินตนเอง: ฟังสิ่งที่อาจารย์อธิบายงาน
ประเมินเพื่อน:  ฟังที่อาจารย์อธิบายและช่วยกันแก้ในสิ่งที่ผิด
ประเมินอาจารย์: ให้คำปรึกษาในหน่วยต่างๆที่นักศึกษาไม่เข้าใจ

วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7


      เนื้อหาที่เรียน
 อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่ 2 คน และได้แจกกระดาษให้นักศึกษาคู่ละ 1 แผ่น เพื่อที่จะได้ทำ Mind Map ในหน่วยการเรียนรู้ที่นักศึกษาเลือกมา และมีขั้นตอนทำ Mind Map ดังนี้

     ขั้นตอนการทำ Mind Map

1.วาดจุดกึ่งกลางของกระดาษ ทำไมไม่ไปเริ่มตรงขอบๆ หรือริมกระดาษล่ะ มันมีเหตุผลครับ เพราะพื้นที่ว่างตรงกลางแผ่นกระดาษนั้นทำให้สมองเรารู้สึกถึงความมีอิสระพร้อมที่จะสร้างสรรเพิ่มเติมได้อย่างเต็มที่ ถ้าวาดๆ ไปแล้วรถยนต์เกิดสะเทือนขั้นมาก็ให้มองว่ามันเป็นศิลปะละกันครับ 2.ใช้รูปภาพหรือจะวาดรูปประกอบไอเดียที่เราเพิ่งจะเขียนลงไปตรงกลางเมื่อกี้ เพราะรูปภาพนั้นสื่อความหมายได้มากมาย ทำให้เราใช้จินตนาการได้อย่างเต็มที่และเมื่อภาพกึ่งกลางมันดึงดูดใจเราก็จะมีโฟกัสที่แน่นอนและทำให้รอยหยักในสมองเราเพิ่มด้วยนะครับ 3.เล่นสีเยอะๆ เพราะสีสันที่สดใส จะทำให้สมองเราตื่นตัว รู้สึกตื่นเต้น ดูมีชีวิตชีวาน่าอ่าน โดยเฉพาะสีเหลืองคือสีที่สมองเราจำแม่นสุดที่สุด 4.วาดกิ่งออกมาจากภาพตรงกลางต้องให้เส้นเชื่อมต่อกัน เพื่อให้สมองเชื่อมโยงข้อมูลเข้าหากัน เอาข้อมูลต่างๆ มาผสมกันเพื่อให้เราจำง่ายขึ้น 5.วาดเส้นโค้งเข้าไว้ สมองเราอ่อนไหวนะครับ ไม่ชอบอะไรที่ทื่อๆ ตรงๆ หรอกครับ และที่สำคัญคือ มันสวยดีครับ 6. เขียนคีย์เวิร์ดบนเส้นกิ่ง อย่าไปเขียนใต้กิ่ง หรือเว้นว่างๆ ไว้เพราะมันจะทำให้เราคิดแบบไม่ต่อเนื่อง พยามหาคำโดนๆ สั้นๆ เพื่อให้เราจำง่ายดีกว่าครับ

Mind Map กลุ่มที่ฉันทำ คือหน่วย แมว


       คำศัพท์
1. imagination        จินตนาการ
2. brain                  สมอง
3. art                      ศิลปะ
4. complex             ซับซ้อน
5. The feeling         ความรู้สึก

ประเมิน
ประเมินตนเอง: ได้ช่วยเพื่อนในการทำ Mind Map
ประเมินเพื่อน: ช่วยกันคิดช่วยกันทำ Mind Map
ประเมินอาจารย์: อาจารย์ได้ให้คำแนะนำต่างๆในการทำ Mind Map

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6


   เพลง บวก-ลบ                        บ้านฉันมีทุเรียน 5 ผล         ป้าให้อีก 2 ผล                        มารวมกันนับดีดีซิเออ         ดูซิเธอรวมกันได้ 7ผล                        บ้านฉันมีทุเรียน 5 ผล         หายไป 2 ผลนะเธอ                        ฉันหาทุเรียนเเล้วไม่เจอ     ดูซิเออเหลือเพียงเเค่ 3 ผล
  
     เนื้อหาที่เรียน

1.ความคิดเชิงคณิตศาสตร์
-​จำนวนนับ 1-30
-​รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
-​เปรียบเทียบเรียงลำดับ
2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาวน้ำหนักปริมาณ
-​รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
-​เปรียบเทียบเรียงลำดับและวัดความยาวน้ำหนักปริมาณ
3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
-​ ตำแหน่งทิศทางระยะทาง
4.มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปร่างขนาดสีที่สำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง
5.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในแผนภูมิอย่างง่าย
6.มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

อาจารย์ได้แจกไม้มา มี สั้น ยาว ไม่เหมือนกันแล้วให้นักศึกษานำมาทำเป็นรูปทรงเรขาคณิตว่าจะได้กี่รูปและจะได้รูปทรงเราขาคณิตอะไรบ้าง

 1.รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

2.รูปสามเหลี่ยม



 3.รูปหกเหลี่ยม

  ประเมิน
ประเมินตนเอง: ตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่ง
ประเมินเพื่อน: ช่วยกันในเวลาทำงานที่อาจารย์สั่ง
ประเมินอาจารย์: ได้ช่วยแนะนำเมื่อนักศึกษาทำไม่ได้

บันทึกการเรียนรู้ครังที่ 5


เนื้อหาที่เรียน

          เพลง

 อาจารย์ให้แต่งเพลงในคาบแล้วก็ร้องเพลง
  เพลงที่แต่งเอง

                       มา มา มา มาซิเรามา   มาต่อแถวกัน (ซ้ำ)
                       อย่ามัวแชเชือน            เดินตามเพื่อนให้ทัน
                       ระวังเดินชนกัน             ต่อแถวกัน  ว่องไว
                       เอ้านับ  1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  เฮ้

  นับนิ้วมือ
                          นี่คือนิ้วมือของฉัน                   มือฉันมีสิบนิ้ว
                          มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว                   มือขวาก็มีห้านิ้ว
                           นับ หนึ่ง สอง สาว สี่ ห้า          นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
                           นับนิ้วนั้นจงอย่าจบ                 นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ



  เพลง จัดแถว 
                          สองมือเราชูตรง        แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
                  ต่อไปย้ายไปข้างหน้า       แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง




  เพลง  ซ้าย-ขวา

                            ยืนให้ตัวตรง           ก้มหัวลงปรบมือแผละ
                    แขนซ้ายอยู่ไหน             หันตัวไปทางนั้นแหละ



  เพลง นกกระจิบ

                                    นั่นนกบินมาลิบลิบ
                            นกกระจิบ หนึ่ง  สอง  สาม  สี่  ห้า
                                    อีกฝูงบินล่องลอยมา
                            หก  เจ็ด  แปด  เก้า  สิบ  ตัว



  เพลง เท่ากัน-ไม่เท่ากัน

                                     ช้างมีสี่ขา ม้ามีสี่ขา
                                     คนเรานั้นหนา สองขา ต่างกัน
                                     ช้างม้า มีสี่ขา เท่ากัน (ซ้ำ)
                                     แต่กับคนนั้น ไม่เท่ากันเอย

    คำศัพท์

1. Line up = จัดแถว
2. Count = นับ
3. Walk = เดิน
4. Left had = มื้อซ้าย
5. Equal = เท่ากัน

การประเมิน
ประเมินตนเอง : พยายามตั้งใจร้อง 
ประเมินเพื่อน :  ช่วยกันร้องเพลงให้ตรงจังหวะ
ประเมินอาจารย์ :  สอนร้องเพลงให้ตรงจังหวะ

สรุปบทความ


เสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล
          เข้าใจด้วยระบบสัญลักษณ์ เด็กวัยนี้จะนับเลข 1- 5 ได้ แต่ถามว่ามีค่าเท่าไรเด็กจะยังไม่เข้าใจ ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจแก่เขา โดยการใช้ระบบสัญลักษณ์ (ภาพหรือสิ่งของที่จับต้องได้) แทนตัวเลข เพราะเด็กจะเข้าใจง่ายกว่าเห็นอย่างไร บอกอย่างนั้น
       เด็กวัยอนุบาลจะทำกิจกรรมโดยใช้ประสาทสัมผัสตากับมือเป็นหลัก จะตัดสินจากสิ่งที่มองเห็น ดังนั้นการนับสิ่งของที่มี 2 แถว แถวหนึ่งวางห่างกัน แถวสองวางชิดกัน เขาจะบอกว่าแถวที่วางห่างกันมีจำนวนมากกว่า เพราะยาวกว่า คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยอธิบายให้ลูกฟังอย่างใจเย็นที่สุด
        ทักษะทางภาษายังต้องสั่งสม ทักษะทางภาษาเป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งสำหรับเด็กวัยอนุบาลยังต้องได้รับการกระตุ้นเรื่องการสื่อสาร เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาที่ดีขึ้น อันจะส่งผลให้เขาสามารถตั้งคำถามและอธิบายเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนได้ เช่น มีของอยู่ 3 ชิ้น คุณแม่ให้เพิ่มอีก 2 ชิ้น หากเขามีทักษะทางภาษาที่ดีเขาจะต้องเข้าใจคำว่า “เพิ่ม” คืออะไร และจะนำมาซึ่งกระบวนการคิดและตอบคำถามอย่างถูกต้อง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องส่งเสริมความเข้าใจคำศัพท์และพัฒนาทักษะทางภาษาของ ลูกควบคู่กันไปด้วย


คณิตศาสตร์ไม่ใช่แค่ตัวเลข
คณิตศาสตร์ ถือเป็นพื้นฐานวิชาหรือพื้นฐานในการเรียนรู้สาระวิชาอื่นๆ ในขั้นสูงต่อไปในอนาคต
ซึ่งคุณต้องเข้าใจนะครับว่า ‘คณิตศาสตร์ไม่ใช่ตัวเลข’ แต่คณิตศาสตร์เป็นตรรกะอย่างหนึ่ง
ซึ่งจะทำให้เด็กๆ เรียนรู้ที่จะจัดการปัญหาได้อย่างมีเหตุผล และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม


สรุปตัวอย่างการสอน


การเรียนรู้พัฒนาการด้านคณิตศาสตร์ (ตัวเลข)
     
   การนับ คือคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1 – 10 หรือมากกว่านั้น
การรู้จักตัวเลข คือการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็น หรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นที่เกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยอาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า ฯลฯ การรู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข คือการเริ่มให้เด็กจับคู่ทีละหนึ่งก่อน จากนั้นค่อยเพิ่มจำนวน ตัวอย่างเช่น กิจกรรมลูกปัดไม้จำนวนในการทำกิจกรรมคือ มีบัตรตัวเลข 0 - 10 วางลูกปัดไม้ไว้เป็นกลุ่ม โดยคละจำนวนให้เด็กนับลูกปัดแต่ละกลุ่ม และนำบัตรตัวเลขไปวางตามจำนวนของลูกปัดแต่ละกลุ่มที่นับจำนวนได้ เป็นต้น

สรุปวิจัย


วิจัยเรื่อง

           ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมปั้นกระดาษ
ปริญญานิพนธ์
เรื่อง
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมปั้นกระดาษ
ของ
ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วราภรณ์​ วราหน​
ได้รับอนุมัติจากบัณฑิตให้นับเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต​ สาขาการศึกษาปฐมวัย

⃟⃟⃟⃟⃟⃟⃟⃟⃟⃟⃟⃟⃟⃞⃠⃠⃠⃢
สรุป
ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มุ่งศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปรมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษผื่อการรียรู้ อันเป็นแนวทางให้ครูและผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ปฐมวัยได้ประโยชน์ ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ให้แก่เด็ก อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กต่อไป
ความมุ่งหมายของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปรมวัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ โดยกำหนดเป็นจุดมุ่งหมายฉพาะ ดังนี้ 1. การเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัด กิจกรรมการปั้นกระดาษ 2. การศึกษาระดับและการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางคณิตศสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ
สมมติฐานในการวิจัย เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นกว่า จรินทรก่อนการทดลอง

ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหวาง5-6ปี กำลังศึกษา อยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนวัดนิมมานรดี สำนักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยมีจำนวน 8 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 216 คน
กลุ่มตัวอย่างการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในกาวิจัยครั้นี้ เป็นด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6ปี กำลัง ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2ภาครียนที่ 2ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนวัดนิมมานรดี สำนักงานขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ในการศึกษาวิจัยเรื่องทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษนี้ ผู้วิจัยใช้เครื่องมือในการวิจัยคือ 1. แผนการจัดประสบการณ์การจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ จำนวน 24 แผน 2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

สรุปผลการวิจัย
1. ผลการเปรียบเทียบเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและราย
ด้านหลังการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ อย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ ..01
2. ผลการศึกษาระดับและการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ มีดังนี้
2.1 เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ก่อนการทดลองทั้งโดยรวม และรายด้าน
ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง หลังการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษด็กปรมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
คือ การรู้ค่าจำนวน การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ และการรียงลำดับ ทั้งโดยรวมและรายด้าน
อยู่ระดับสูง
2.2การจัดกิจกรรมการปั้นกระดษทำให้เด็กปรมวัย มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวม
เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 61.59 ของความสามารถพื้นฐานเดิม โดยมีทักษะด้านการเรียงลำดับ เพิ่มขึ้นมาก
เป็นลำดับแรก รองลงมาคือ ด้านการจัดหมวดหมู่ การเปรียบเทียบและการรู้ค่จำนวน ตามลำดับ

ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมีการศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษที่มีต่อพัฒนาการด้านอื่นๆ ของ เด็กปฐมวัย ช่น พัฒนาการด้านการคิดแก้ปัญหา พัฒนาการทักษะทางภาษา พัฒนาการด้านมิติสัมพันธ์ พัฒนาการด้านสังคม พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก เป็นต้น 2. ควรศึกษาเปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษในระดับอนุบาลปีที่ 1 ถึงปีที่ 3 เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของด็กปฐมวัยเป็นรายค้น เช่น การู้คำจำนวน การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับต่อไป

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4


เนื้อหาที่เรียนวันนี้
  เทคนิคการจัดประสบการณ์
- นิทาน
- เพลง
- เกม
- คำคล้องจอง
- ปริศนาคำทาย
- บทบาทสมมุติ
- แผนภูมิภาพ
- การประกอบอาหาร
   สาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ 6 สาระการเรียนรู้
      สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ 
                 การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆ จะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นให้เด็กก่อน แล้วจึงจะจัดอันดับ
                 การรวมตัวเป็นการนับจำนวนต่างๆ สองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น
      สาระที่ 2 การวัด
                การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน เช่น การใช้นิ้ว มือ ฝามือ ศอก เชือก
                การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องมือวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน เช่น มือ การทำคาน  หนักกว่า เบากว่า หนักเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียนเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ
      สาระที่ 3 เรขาคณิต 
                ข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ระหว่า ซ้าย ขวา ใกล้ ไกล เป็นคำที่บอกตำแหน่ง ทิศทาง
                การจำแนกทรงของวงกลม ทรงสี่เหลี่ยม กรวย จะใช้วิธีพิจารณารูปร่าง
      สาระที่ 4 พีชคณิต 
                แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด ของจำนวนรูปเรขาคณิตหรือสิ่งต่างๆ
      สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                 การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถาม นำเสนอเป็นรูปภาพหรือกราฟ
      สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิต
                 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
             
             1.Measuring       การวัด
             2.Geometry        เรขาคณิต
              3.Learning         สาระการเรียนรู้
             4.Skills               ทักษะ
             5.Between          ระหว่าง

   ประเมิน


        ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์พูด และตอบคำถาม
        ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจฟังและตอบตำถามอาจารย์
         ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายได้อย่างชัดเจน