วิจัยเรื่อง
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมปั้นกระดาษ
ปริญญานิพนธ์
เรื่อง
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมปั้นกระดาษ
ของ
ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วราภรณ์ วราหน
ได้รับอนุมัติจากบัณฑิตให้นับเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย
⃟⃟⃟⃟⃟⃟⃟⃟⃟⃟⃟⃟⃟⃞⃠⃠⃠⃢
สรุป
ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มุ่งศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปรมวัย
ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษผื่อการรียรู้ อันเป็นแนวทางให้ครูและผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
ปฐมวัยได้ประโยชน์ ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ให้แก่เด็ก อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย
การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กต่อไป
ความมุ่งหมายของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปรมวัยที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ โดยกำหนดเป็นจุดมุ่งหมายฉพาะ ดังนี้
1. การเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัด
กิจกรรมการปั้นกระดาษ
2. การศึกษาระดับและการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางคณิตศสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน
และหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ
สมมติฐานในการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นกว่า
จรินทรก่อนการทดลอง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหวาง5-6ปี กำลังศึกษา
อยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนวัดนิมมานรดี สำนักงานเขตภาษีเจริญ
สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยมีจำนวน 8 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 216 คน
กลุ่มตัวอย่างการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในกาวิจัยครั้นี้ เป็นด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6ปี กำลัง
ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2ภาครียนที่ 2ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนวัดนิมมานรดี สำนักงานขตภาษีเจริญ
สังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน
จำนวน 30 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ในการศึกษาวิจัยเรื่องทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษนี้
ผู้วิจัยใช้เครื่องมือในการวิจัยคือ
1. แผนการจัดประสบการณ์การจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ จำนวน 24 แผน
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการเปรียบเทียบเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและราย
ด้านหลังการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ อย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ ..01
2. ผลการศึกษาระดับและการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ มีดังนี้
2.1 เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ก่อนการทดลองทั้งโดยรวม และรายด้าน
ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง หลังการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษด็กปรมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
คือ การรู้ค่าจำนวน การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ และการรียงลำดับ ทั้งโดยรวมและรายด้าน
อยู่ระดับสูง
2.2การจัดกิจกรรมการปั้นกระดษทำให้เด็กปรมวัย มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวม
เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 61.59 ของความสามารถพื้นฐานเดิม โดยมีทักษะด้านการเรียงลำดับ เพิ่มขึ้นมาก
เป็นลำดับแรก รองลงมาคือ ด้านการจัดหมวดหมู่ การเปรียบเทียบและการรู้ค่จำนวน ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษที่มีต่อพัฒนาการด้านอื่นๆ ของ
เด็กปฐมวัย ช่น พัฒนาการด้านการคิดแก้ปัญหา พัฒนาการทักษะทางภาษา พัฒนาการด้านมิติสัมพันธ์
พัฒนาการด้านสังคม พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก เป็นต้น
2. ควรศึกษาเปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษในระดับอนุบาลปีที่ 1 ถึงปีที่ 3
เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของด็กปฐมวัยเป็นรายค้น เช่น การู้คำจำนวน การเปรียบเทียบ
การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น